21 พ.ย. 2553

วัฒนธรรมการกินของคนภาคเหนือ



อาหารเหนือ
 
วัฒนธรรมการกินของคนภาคเหนือ ภาคเหนือมีเทือกเขาสูงทอดยาวขนานกันส่วนใหญ่เป็นที่ราบเชิงเขาสลับกับที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีอากาศค่อนข้างหนาว คนเหนือจะรับประทานพืชผักซึ่งขึ้นเองตามธรรมชาติ
คล้ายกับภาคอีสาน กินข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก ปรุงอาหารโดยไมใส่น้ำตาล แต่จะได้
ความหวานจากผัก หรือเนื้อสัตว์ในส่วนผสมเน้นรสเค็มนำและเผ็ดเล็กน้อย
สำรับกับข้าวของคนเหนือเรียกว่าโก๊ะข้าวหรือขันโตก ทำมาจากไม้รูปทรงกลม มีขา
สูงพอดีที่จะนั่งร่วมวงรับปวะทานอาหารได้อย่างสะดวก เมื่ออาหารเหลือจะนำจาน
อาหารวางบนกระบุงแล้วผูกเชือกแขวนไว้ในครัว เพื่อป้องกันมดและแมลงมาไต่ตอม

เครื่องแนมที่คนภาคเหนือนิยมกินร่วมกับอาหาร ได้แก่


หน้าปอง คือ การนำหนังควายมาเผาจากนั้นแช่น้ำเพื่อขูดผิวสีดำออก ตัดส่วนแข็ง
ทิ้งไป ตากแดดให้แห้ง แล้วนำแผ่นหนึ่งที่ไค้ไปปิ้งไฟจนอ่อนตัว ใช้มีดตัดเป็นเส้นไม่ให้ขาด
จากกัน นำ ไปต้มโดยใช้ไฟอ่อนๆจนมีสีเหลืองเก็บไว้รับประทานได้นาน เพื่อจะรับประทาน
นำไปทอดในน้ำมันโดยใช้ไฟกลางจนหนังพอง

ไข่มดส้ม คือ การนำไข่มดแดงมาดองกับน้ำเกลือ ใช้ทำยำหรือใส่ในแกงต่างๆ

น้ำหนัง คือ การนำหนังควายมาเผาไฟ จนไหม้ดำ แช่ในโอ่งน้ำแล้วขูดส่วนที่ไหม้อออกต้มในปี๊บ (หาภาชนะปิดไว้เพื่อไม่ให้หนังลอยเหนือผิวน้ำ) ต้มจนหนังละลายเป็นน้ำข้นๆยกลง กรองผ่านกระชอนไม้ไผj ละเลงบางๆ
บนกาบไม้ไผ่ หรือจะผสมงาก่อนก็ได้  ผึ่งในที่ร่มจนแห้ง ลอกออก เก็บใส่ภาชนะซึ่งมี
ฝาปิดสนิท นิยมรับประทานร่วมกับแกงต่างๆโดยนำไปปิ้งไฟอ่อนๆ

น้ำปู๋ คือ น้ำทำจากปูนาที่นำมาตำกรองเอาแต่น้ำ เคี้ยวจนเหนียวเป็นสีดำ ใช้ปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่น แกงหน่อไม้ ยำหน่อไม้ทำน้ำพริกน้ำปูเป็นต้น การทำน้ำปูมีหลายวิธี
แคบหมู คือ การน้ำหนังหมูมากรีดมันออกให้เหลือมันติดเล็กน้อย เคล้ากับเกลือผึ่งแดดจนน้ำมันแห้ง ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วทอดกับน้ำมันในกระทะ ใช้ไฟอ่อน จนหนังพอเป้นเม็ดเล็กๆ ตักขึ้นใส่กระทะอีกใบที่มีน้ำมัน
ร้อนจัด ทอดจนหนังหมูพองทั่วเท่ากัน ตักขึ้นพักให้สะเด็ดน้ำมัน รับประทานแนมกับน้ำพริกต่างๆ เช่น น้ำพริกหนุ่ม เป็นต้น